วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ตำนานมังกร
1.ตำนานมังกรของจีนนั้น นับว่าเก่าแก่กว่าประเทศอื่นๆ คือราวสี่พันกว่าปีมาแล้วโดยในสมัย พระเจ้าชุน (2255-2205 ปีก่อน ค.ศ.) ได้เกิดอุทกภัยจากแม่นํ้าฮวงโหผู้คนล้มตายมากมาย พระองค์จึงสั่งให้อำมาตย์ผู้หนึ่งชื่อ ยู้ ไปแก้ไข แม้ว่ายู้จะเพิ่งแต่งงานได้เพียง 4 วัน แต่เขาก็ไปปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลัง ไม่เคยกลับมาเยี่ยมเยียนบ้านเลยถึง 33 ปี บุกป่าฝ่าเขา เผาป่าขุดคลอง กระทั่งสามารถระบายนํ้าท่วมทั้งหมดลงสู่ทะเลได้ เมื่อพระเจ้าชุนสิ้นพระชนม์ ราษฎรจีนทั้งปวงจึงพร้อมใจกันให้ยู้ขึ้นครองราชสมบัติแทน ทรงพระนามว่าพระเจ้า อู๋เต้ (2205-2197 ปี ก่อน ค.ศ.) ต้นราชวงศ์เหีย
ด้วยความยิ่งใหญ่ของยู้ ทำให้กล่าวกันว่า จริงๆ แล้วกำเนิดของยู้นั้นเป็นพญามังกร ดังนั้น จึงถือกันว่าฮ่องเต้หรือจักรพรรดิองค์ต่อๆ มาของจีนนั้นก็คือมังกรกลับชาติมาเกิด ด้วยเหตุนี้สัญลักษณ์ของฮ่องเต้ จึงใช้รูปมังกรแต่จะผิดแผกจากมังกรธรรมดา คือมี 5 เล็บ และใช้สีเหลือง อันเป็นสีประจำองค์ฮ่องเต้เป็นหลัก
ใน เมืองจีนเราจึงมักได้เห็นรูปมังกร ปรากฏประดับประดาอยู่ทั่วไปครับ ไม่ว่าจะบนผ้าม่านที่ปักอย่างวิจิตร บนตราประทับ หรือบนแจกันตลอดจนข้าวของเครื่องใช้ทั่วไป
มังกรจีน (อักษรจีนตัวเต็ม: 龍; อักษรจีนตัวย่อ: 龙; พิน อิน: l�ng) เป็นสัญลักษณ์โดดเด่นอันหนึ่งของจักรพรรดิและวัฒนธรรมจีน มีลักษณะที่มาจากสัตว์หลาย ๆ ชนิดผสมผสานกัน ลักษณะลำตัวยาวเหมือนงู มีเขี้ยวขนาดใหญ่หนึ่งคู่อยู่ที่บริเวณขากรรไกรด้านบน มีหนวดยาวลักษณะเหมือนกับไม้เลื้อย และมีแผงคอเหมือนกับของสิงโตอยู่บน คอ , คาง และข้อศอก มีเกล็ดสีเขียวเข้มทั่วทั้งบริเวณลำตัวรวมทั้งสิ้น 117 เกล็ด ซึ่งเกล็ดมังกรจำนวน 81 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยางซึ่งเป็นเกล็ดที่มีความดี เกล็ดมังกรจำนวน 36 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยินซึ่งจะเป็นเกล็ดที่มีความชั่ว ลักษณะเขาของมังกรจะมีสันหลังทอดยาวไปตามหลังและหาง เป็นหนามยาวและสั้นสลับกัน มีขา 4 ขาและกรงเล็บแข็งแรง
เกล็ดของมังกรจีนนั้น จะมีลักษณะเฉพาะเปลี่ยนไปตามแต่ละชนิดของมังกร ตั้งแต่สีเขียวเข้มจนถึงสีทอง หรือบางแหล่งกล่าวกันว่า มังกรจีนนั้นมีหลายสี เช่น สีน้ำเงิน สีดำ สีขาว สีแดง สีเขียว หรือสีเหลือง แต่ในกรณีของมังกรชนิด ไชโอะ (chiao) หลังของมังกรจะเป็นสีเขียว บริเวณด้านข้างเป็นสีเหลือง และใต้ท้องเป็นสีแดงเข้ม มังกรจีนชนิดหนึ่งจะมีปีกที่ด้านข้างของลำตัว และสามารถที่จะเดินบนน้ำได้ แต่สำหรับมังกรจีนอีกชนิดหนึ่งเมื่อสะบัดแผงคอไปข้างหน้าและข้างหลัง จะทำให้เกิดเสียงที่ฟังดูเหมือนกับเสียงขลุ่ย
มังกร จีนจะมีโหนกอยู่บนหัวซึ่งทำให้สามารถบินได้ เรียกโหนกที่อยู่บนหัวว่า เชด เม่อ (ch’ih muh) แต่ถ้ามังกรจีนตัวใดไม่มีโหนกที่บริเวณหัว จะกำคทาเล็ก ๆ ที่เรียกว่า โพ เชน (po-shan) ซึ่งสามารถทำให้มังกรลอยตัวในอากาศได้ ในประเทศจีนคนโบราณมีความเชื่อกันว่ามังกรคือสัตว์ที่ทรงพลังและ ศักดิ์สิทธิ์แห่งฟ้าและดิน ได้รับการกล่าวกันว่ามีความเป็นมิตร มากกว่าความร้ายกาจ เป็นสัญลักษณ์ที่นำมาซึ่งความสุข และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง พบได้ใน แม่น้ำและทะเลสาบ ชอบที่จะอยู่ท่ามกลางสายฝน มังกรได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างกฎแห่งความใจบุญ และเป็นสิ่งที่เสริมสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นให้แก่กษัตริย์ในราชวงศ์ชิง กษัตริย์จะนั่งบนบัลลังก์มังกร เดินทางโดยเรือมังกร เสวยอาหารบนโต๊ะมังกร และบรรทมบนเตียงมังกร
กำเนิดมังกรจีน
ตาม ความเชื่อของชาวจีนโบราณนั้น จะมีสัตว์ศักดิ์สิทธิ์อยู่ 4 ชนิด คือ กิเลน หงส์ เต่า และมังกร โดยชาวจีนจะเชื่อถือกันว่ามังกรนั้น เป็นสัตว์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้ง 4 ชนิดนั้น มังกรจีนหรือที่ชาวจีนเรียกกันว่า “เล้ง-เล่ง-หลง-หลุง” ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของการออกเสียงของในแต่ละท้องถิ่น ชาวจีนถือว่ามังกรนั้นเป็นสัญลักษณ์ของพลัง อำนาจ ความยิ่งใหญ่ และเพศชาย
เนื่อง จากมังกรจีนเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสัตว์แห่งเทพเจ้าในสรวงสวรรค์และเป็นตัวแทนของจักรพรรดิ ผู้เป็นโอรสจุติมาจากสวรรค์ ชาวจีนจึงมีความเชื่อว่าหากผู้ที่ได้พบเห็นมังกร จะถือว่าเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองมาก ผู้ที่มีโอกาสจะได้ขี่หลังมังกรจะต้องเป็นคนมีศีล มีสัตย์ มีจิตใจบริสุทธิ์ดีงาม ถึงจะมีมังกรมารับไปเป็นเซียนอยู่บนสวรรค์ ในสมัยโบราณนั้นชาวจีนได้มีการจัดทำ ตำรามังกร ขึ้นมา ซึ่งเป็นการรวบรวมในรายละเอียดส่วนของประวัติ เผ่าพันธุ์และลักษณะของมังกรไว้อย่างละเอียดที่สุด แต่เนื่องมาจากตำราเหล่านั้นได้สูญหายไปตามกาลเวลาแล้ว การศึกษาเรื่องของมังกรจีนในปัจจุบัน จึงเป็นเพียงแค่การศึกษาจากหลักฐานต่าง ๆ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่และจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ชาวจีนเท่านั้น
ตาม ตำนานในสมัยโบราณของจีน มี เจ้าแม่นึ่งออ หรือ หนี่วา มีลักษณะลำตัวเป็นคน แต่หัวเป็นงู ซึ่งในบางตำราก็มีการบอกต่อ ๆ กันมาว่าว่ามีลำตัวตัวท่อนบนเป็นคน แต่ท่อนล่างเป็นงู เมื่อเจ้าแม่นึ่งออสิ้นอายุไข นางได้ตายไปแล้วเป็นเวลา 3 ปี แต่ศพของนางกลับไม่เน่าเปื่อย และเมื่อมีคนลองเอามีดผ่าท้องของนางดู ก็ปรากฏมีมังกรเหลืองตัวหนึ่งพุ่งออกมาแล้วเหาะขึ้นฟ้าไป
ตาม ตำราดึกดำบรรพ์ของจีนกล่าวกันว่า มังกรจีนนั้น ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในสมัยของ พระเจ้าฟูฮี,ฟูซี หรือฟูยี (หรือเมื่อประมาณ 3,935 ปีก่อนพุทธกาล) มีตำนานกล่าวกันไว้ว่า มีมังกรอยู่ตัวหนึ่งเป็นเจ้าเหนือน่านน้ำทั้งปวงเป็นระยะเวลาหลายพันปี ซึ่งแท้จริงแล้วมังกรตัวนั้นก็คือ พระเจ้าฟูฮี แปลงร่างนั่นเอง พระเจ้าฟูฮีนั้นป็นผู้ที่มีความสามารถเป็นอย่างมาก ทรงคิดประดิษฐ์ของหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น “โป๊ย-ก่วย” หรือ ยันต์แปดทิศ อีกทั้งยังทรงเป็นผู้กำหนดการที่ให้ชายหญิงมีการมั่นหมายกันเป็นคู่ครองอีก ด้วย
ใน หนังสือประวัติวัฒนธรรมจีนได้กล่าวกันไว้ว่า มังกรนั้นได้ถือกำเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอึ่งตี่ พระเจ้าอึ่งตี่, อึ้งตี่ หรือหวงตี้ ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ที่รวบรวมแผ่นดินจีนไว้เป็นผืนเดียวกัน โดยพระองค์ได้ทรงสร้างจินตนาการรูปมังกรขึ้นมา จากการรวมสัญลักษณ์ของเผ่าต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มังกรกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ว่าเผ่าต่าง ๆ ได้รวมกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว ตามตำนานกล่าวไว้ว่าเมื่อพระเจ้าอึ่งตี่สิ้นอายุไข ก็มีมังกรจากฟ้าลงมารับพระองค์และพระมเหสีขึ้นไปเป็นเซียนบนสวรรค์ โดยบางตำราได้กล่าวว่าพระองค์นั้นเป็นหวงตี้องค์เดียวกับที่ได้เป็นเจ้า สวรรค์ หรือเง็กเซียนฮ่องเต้ในเวลาต่อมา เพราะเหตุนี้ชาวจีนจึงถือว่ามังกรเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์และเป็นเจ้าแห่ง สัตว์ทั้งปวง
ลักษณะของมังกรจีน
ลักษณะของมังกรจีนที่ เกิดจากจินตนาการคนจีนแทนลักษณะเฉพาะของมังกร 9 อย่าง ตามประเพณี แต่ละอย่างแสดงถึงลักษณะของมังกรที่แตกต่างกัน ลักษณะของ มังกรจีนในงานด้านจิตกรรมประติมากรรมของจีน ซึ่งใช้ในเวลาและโอกาสที่ต่างกัน คือ
ลักษณะหัวของมังกร คล้ายกับหัวของอูฐ บางตำราก็บอกว่ามาจากหัวม้าหรือหัววัวหรือหัวจระเข้
ลักษณะหนวดของมังกร คล้ายกับหนวดของมนุษย์
ลักษณะเขาของมังกร คล้ายกับเขาของกวาง มังกรจะมีเขาได้ก็ต่อเมื่อมีอายุ 500 ปี และเมื่ออายุถึง 1,000 ปี ก็จะมีปีกเพิ่มขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง
ลักษณะตาของมังกร คล้ายกับตากระต่าย บางตำราบอกว่ามาจากตาของมารหรือปีศาจหรือตาของสิงโต
ลักษณะหูของมังกร คล้ายกับหูวัว แต่ไม่สามารถได้ยินเสียง บางตำราก็ว่าไม่มีหู บางตำราบอกว่ามังกรได้ยินเสียงทางเขาที่เหมือนเขากวางนั้น
ลักษณะคอของมังกร คล้ายกับคองู
ลักษณะท้องของมังกร คล้ายกับท้องกบ บางตำราบอกว่ามาจากหอยแครงยักษ์
ลักษณะเกล็ดของมังกร คล้าย กับเกล็ดปลามังกร บางตำราว่ามาจากปลาจำพวกตะเพียนหรือกระโห้ โดยมังกรจะมีเกล็ดตลอดแนวสัน-หลัง จำนวน 81 เกล็ด มีเกล็ดตามลำคอจนถึงบนหัว บนหัวมังกรมีรูปลักษณะเหมือนสันเขาต่อกัน เป็นทอดๆ
ลักษณะกงเล็บของมังกร คล้ายกับกงเล็บของเหยี่ยว จำนวนเล็บของมังกรแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน มังกรที่ยิ่งใหญ่จึงจะมี 5 เล็บ นอกนั้นก็จะเป็น 4 เล็บหรือ 3 เล็บ
ลักษณะฝ่าเท้าของมังกร คล้ายกับฝ่าเท้าของเสือ
ลักษณะของมังกรจีน สัญลักษณ์แห่งเทพเจ้าที่จีนให้ความเคารพนับถือ ลักษณะของมังกรเกิดจากจินตนาการโดยการรวมเอาลักษณะของสัญลักษณ์เผ่าต่างๆมา รวมกัน มีความแตกต่างกันตามคติความเชื่อถือและการประดิษฐ์ของช่าง มีกาลเทศะและวาสนาแตกต่างกันไปตามความเชื่อของคตินิยมแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งว่ากันว่ามังกรของจีนนั้นมี 9 ท่า 9 สี คำว่า หลง ในภาษาจีนกลางหมายถึงมังกรที่มีลักษณะดังนี้
มังกรมีเขา หรือ หลง เป็นลักษณะของมังกรที่มีเขาเหมือนกับกวางดาว ซึ่งคนญี่ปุ่นถือว่ากวางเป็นสัตว์ที่มาจากฟากฟ้าแดนสวรรค์ มีอำนาจมากที่สุดสามารถทำให้เกิดฝนได้ และหูหนวกโดยสิ้นเชิง อินเดียนแดงถือว่ากวางเป็นสัตว์ที่เป็นอมตะนิรันด์กาล แต่คนไทยกลับนิยมกินเนื้อกวาง ซึ่งจะชำแหละเนื้อไว้กินและหนังจะส่งขายให้กับประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำไปทำเป็นซับในของเสื้อเกราะญี่ปุ่นซึ่งหนังกวางนั้นเป็นสินค้าส่งออก ที่มีความสำคัญของไทยมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
มังกรมีปีก หรือ หว่านซี่ฟ่าน เป็นมังกรฝรั่งที่สามารถพ่นไฟ ได้ คนฝรั่งนิยมที่จะนำมังกรมีปีกนี้มาประกอบฉากเป็นพาหนะของผู้ร้ายหรือเป็นตัว แทนของมังกรที่ดุร้าย แต่ในสมัยราชวงศ์หมิง คนจีนนำมังกรชนิดนี้มาทำเป็นลวดลายบนถ้วยข้าวต้ม
มังกรสวรรค์ หรือ เทียนหลง มีชื่อเรียกว่า มังกรฟ้า เป็น มังกรในหาดสวรรค์ บางครั้งก็จะเป็นพาหนะของเทพเจ้าเทวาในลัทธิเต๋า คนจีนมีความเชื่อกันว่า มังกรเทียนหลงนี้เป็นมังกรที่ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองปราสาทราชวังของ เทพเจ้าบนสรวงสรรค์ และเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของฮ่องเต้อีกด้วย
มังกรวิญญาณ เฉียนหลง หรือ หลีเฉี่ยวหลง เป็นมังกรที่บันดาลให้เกิดลมฝนเพื่อประโยชน์ต่อการเกษตรและมนุษยชาติของชาว จีน แต่โบราณ มังกรหลีเฉี่ยวหลงนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของจักรราศีอีกด้วย
มังกรเฝ้าทรัพย์ หรือ ฟูแซง เป็นมังกรบาดาล มังกรฟูแซงนี้น่าจะเป็นคติของอินตู้หรืออินเดียมากกว่าของจีน ซึ่งชาว กรีก โบราณเองก็มีความเชื่อกันในเรื่อง “มังกรบาดาล” เช่นกัน ความเชื่อเกี่ยวกับมังกรบาดาลนี้เป็นความเชื่อและคติที่เก่าแก่มาก
มังกรขด ไม่มีฝอย เป็นมังกร “หด” ธรรมดา
มังกรเหลือง เป็นมังกรจ้าปัญญา ทำหน้าที่คอยหาข้อมูลให้กับจักรพรรดิฟูใฉ่ที่เป็นตำนาน
มังกรบ้าน หรือ ลี่หลง เป็นมังกรที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรและในทะเล บางตำนานเรียกว่า ไซโอ๊ะ มีเกล็ดปกคลุมทั่วทั้งตัว มักอาศัยอยู่ในหนองน้ำใกล้ ๆ กับถ้ำที่มีอากาศอับชื้น
พญามังกร คือ มังกร 4 ตัว ซึ่งปกครองอยู่เหนือทะเลทั้งสี่ คือทะเล ตะวันออก(ตัง) ,ใต้(น้ำ) ,ตะวันตก(ไซ) และเหนือ(ปัก) พญามังกรอาศัยอยู่ในปราสาทมหาสมุทรหรูหรา(วังใต้ทะเล) และกินไข่มุกเจียงตู หรือไข่มุก
และ โอปอล เป็นอาหาร และพญามังกรทั้งสี่ตัวเป็นพี่น้องกัน บางแหล่งข้อมูลกล่าวว่ามังกร 4 ตัวนี้มีผู้ควบคุมชื่อ ฉิน แท็ง (Chien-Tang) เป็นมังกรที่มีสีแดงเลือด มีแผงคอเป็นไฟ และยาว 900 ฟุต
มี การบรรจุคำว่ามังกรลงในพจนานุกรมของประเทศจีน มีความหมายว่า “มังกรเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุด มีลักษณะหัวคล้ายหัวอูฐ มีเขาคล้ายเขากวาง ดวงตาคล้ายกับดวงตาของกระต่ายป่า หูของมันคล้ายหูวัว ปีกของมันคล้ายนกอินทรี มีลำคอยาวคล้ายงู ช่วงท้องมีลักษณะคล้ายกบ รูปร่างของมันคล้ายกับปลาตัวใหญ่ เท้าคล้ายกับเท้าเสือ เสียงของมันคล้ายเสียงตีฆ้อง เมื่อมันหายใจ ลมหายใจของมันมีลักณะคล้ายเมฆ ซึ่งบางครั้งก็ออกมาเป็นฝน บางครั้งก็เป็นเปลวไฟ”
2.มังกรเก่าแก่ตัวถัดมาเห็นจะได้แก่ มังกรในตำนานของชนสุเมเรียนแห่งนครบาบิโลน ซึ่งก่อตั้งขึ้นราว 2,000 ปีก่อน ค.ศ. โดยตำนานเล่าว่า หลังกำเนิดของพิภพ มีมังกรเพศเมียนามว่า ติอาแม็ท (TIAMAT) เป็นเทพีแห่งทะเลนํ้าเค็ม เมื่อนํ้าเค็มของติอาแม็ทผสมผสานกับนํ้าจืดของเทพ อัพสุ (APSU) ก็เกิดการปฏิสนธิของเทพองค์อื่นๆ อีกมากมาย
ต่อมาอัพสุต้องการชิงอำนาจจากจอมเทพ อีอา (EA) จึงเกิดเทวสงครามขึ้น แรกๆ ทัพของอัพสุกับติอาแม็ททำท่าว่าจะมีชัย แต่แล้วก็เกิดมีวีรเทพซึ่งเป็นโอรสของอีอาพระนามว่า มาร์ดุค (MARDUK) เข้ามาขัดขวางติอาแม็ทอ้าโอษฐ์ เพื่อกลืนกินมาร์ดุค แต่วีรเทพได้สาดมหาพายุเข้าไปในโอษฐ์ของเธอจนหุบไม่ลง แล้วมาร์ดุคก็ใช้แหจับ ติอาแม็ทไว้ได้ เอาศรเสียบร่างแล้วเอาดาบ ผ่ากายของเธอออกเป็นสองซีก ซีกหนึ่งบังเกิดเป็นหลังคาสวรรค์ อีกซีก หนึ่งเป็นท้องมหาสมุทร นอกจากนี้ มาร์ดุค ยังเอาดาบเสียบลูกตาของติอาแม็ท โลหิตที่หลั่งไหลออกมากลายเป็นแม่นํ้าสองสาย คือ ไทกริส กับ ยูเฟรติส แห่งดินแดนเมโสโปเตเมีย แถมยังม้วนหางของเธอขึ้นไป พาดไว้บนห้วงจักรวาลกลายเป็น ทางช้างเผือก (MILKY Way) ที่เราเห็นสว่างไสวอยู่บนท้องฟ้าทุกวันนี้
3.มังกรตัวต่อมาปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ ไบเบิลของชนฮีบรู กล่าวคือเมื่อพระเจ้า (GOD) ทรงสร้างโลก ในวันที่ 5 พระองค์ได้เสกมังกรทะเลขึ้นมาชื่อว่า เลเวียธาน (LEVIA-THAN) เป็นอสุรสัตว์ ที่มีพละกำลังน่าเกรง ขาม อาวุธใดๆ ไม่อาจระคายเคืองร่างของมันได้ แม้ว่ามันอาจก่อความเดือดร้อนให้แก่ มนุษย์บ้าง แต่พระเจ้าก็มิได้เอาใจใส่กับมันเท่าใดนัก เพราะพระองค์ ตั้งพระทัยที่จะสังหารมันในวันสุดท้ายแห่งพิภพ (THE JUDGEMENT DAY)!
“ในวัน นั้น พระองค์จะทรงใช้ดาบอันมีศักดานุภาพยิ่งใหญ่ ลงทัณฑ์เจ้ามังกร ซึ่งพยายามหลีกลี้หนีไป และทรงประหารมันในห้วงมหาสมุทร” (จาก Isaiah 27 : 1)
เรื่อง ราวของมังกรในคริสตอาณาจักร ยังมีอีก คือในช่วงศตวรรษแรกหลังจากองค์เยซูสิ้นพระชนม์ ชาวคริสต์หลั่งไหลเข้าไปอยู่ในตะวันออกกลาง ตำนานความเชื่อโบราณหลายเรื่องเลือนหายไป แต่ “มังกร” ยังอยู่ ซึ่งน่ากลัวหนักขึ้นไปอีก โดยปรากฏในรูปของ”ปิศาจ (DEVIL)”
“ข้า เห็นเทวดาลงมาจากสวรรค์ ในหัตถ์มีกุญแจไขสู่หลุมลึกอันหยั่งไม่ถึง อีกหัตถ์หนึ่งมีโซ่เส้นมหึมา แล้วจับเจ้ามังกรปิศาจล่ามไว้ และทุ่มมันลงไปในหลุมนั้น” (Book of Revelation)
มังกร ในคัมภีร์ไบเบิลของฮีบรู ได้สร้างจินตนาการไว้ให้ชนยุโรปตะวันออกกลาง หลายหมู่บ้าน จนต่างก็มีตำนานมังกร ของตนเองขึ้นมาบ้าง โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่สามในประเทศลิเบีย
ตำนาน นี้กล่าวว่า ได้เกิดมีมังกรยักษ์ใจโหดขึ้นในอาณาจักรที่โรมันครอบครอง สร้างความทุกข์ร้อนแสนสาหัสแก่ชาวบ้าน โดยจะต้องจัดส่งลูกหลานไปสังเวยแก่มันเป็นประจำ กระทั่งถึงคราวของพระธิดาแห่งกษัตริย์ที่จะต้องตกเป็นเหยื่อของมัน
และแล้วทหารหาญหนุ่มน้อย คริสเตียนก็ได้ขี่ม้าขาวมาช่วย เขามีนามว่า จอร์จ (George) เมื่อ เผชิญหน้ากับเจ้ามังกรร้าย จอร์จได้ใช้หอกพุ่งเสียบร่าง ของมันจนสิ้นชีพ แล้วลากเอาซากมังกรกลับมา ให้ชาวบ้านได้ทัศนา ความเก่งกาจของจอร์จทำให้ผู้คนทั้งหลายเปลี่ยนใจ จากที่เคยศรัทธาในปวงเทพของโรมัน ก็หันกลับมานับถือคริสต์ศาสนากันหมด
ต่อมา เมื่อเกิดสงครามครูเสด เหล่าขุนศึกคริสเตียนที่ไปรบในตะวันออกกลาง ต่างได้รับอิทธิพลจากตำนานของจอร์จ พวกเขาจึงบังเกิดมีกำลังใจฮึกเหิม โดยถือว่าดวงวิญญาณของ จอร์จคงช่วยพิทักษ์ตน เมื่อเสร็จศึกกลับถึงบ้านในอังกฤษ จอร์จจึงได้รับการยกย่องขึ้นเป็นนักบุญเซนต์จอร์จ
ในยุค กลางของยุโรปนั้น บุรุษเพศต่างคลั่งไคล้ในการประพฤติตนเป็นอัศวิน คือจรม้าออกตระเวนผจญภัยไปในดินแดนต่างๆ เพื่อสร้างวีรกรรม และวีรกรรมใดเล่าที่จะน่าประทับใจ ยิ่งกว่าการได้สังหารมังกรร้ายสักตัวนึง ใครที่เคยอ่านเรื่อง “ดอน กีโฮเต้” ของแชร์วอนเตส คงรู้ดีถึงความบ้าระหํ่านี้
“มังกรจะอาศัยอยู่ในถํ้า มันจะเหินร่อนไปบนนภากาศออกหากิน กรงเล็บของมันคืออาวุธ ประกอบกับอัคคี ที่พวยพุ่งจากปากและจมูกของมัน”
4.มังกรตัวสุดท้ายที่จะเล่าถึงมีชื่อว่า เควทซาลโคลท์ (QUETZALCOATL) อยู่ในตำนานของชนเผ่าแอสเท็กส์ (AZTECS) แห่งนครเตโอติฮัวคัน (คริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึง 8) ในดินแดนอเมริกากลางแถวๆ เม็กซิโก
มังกรของแอสเท็กส์นี่รูปร่างแปลกกว่าของชาติอื่น คือเป็นงูยักษ์ที่มีขน ชนแอสเท็กส์นับถือว่าเป็นเทพแห่งพืชพันธุ์การเกษตร แต่การสักการบูชาเทพเจ้าของพวกเขานั้นหฤโหดยิ่ง คือสังเวยด้วยมนุษย์เป็นๆ ดังนั้นในแต่ละปี ชนชาตินี้จะทำศึกรุกรานชนเผ่าอื่น เพื่อนำเอาเชลยมาบูชายัญจัดเป็นยุคแห่งการนองเลือดโดยแท้ กระทั่งสุดท้าย ตำนานกล่าวว่า กลุ่มปีศาจได้จับเอามังกรเควทซาลโคลท์มอมเหล้าแล้วนำไปเก็บไว้ใต้สมุทร
ตำนานนี้เองที่ได้ก่อความหายนะ ให้กับชาวแอสเท็กส์ คือเมื่อชนผิวขาวชาวสเปน นำโดย เฮอร์นานโด คอร์เตส มาเยือนดินแดนแถบนี้ในช่วง ค.ศ.1519-21 กษัตริย์ มอนเตซูมา และชาวแอสเท็กส์ต่างก็เชื่อว่าคอร์เตส คือเทพเจ้ามังกร ผู้หวนกลับมาตามที่ตำนานได้ทำนายไว้ จึงยอมศิโรราบแก่กองทหารของคอร์เตส ทำให้สเปนทำทารุณกรรม และขนทรัพย์สินเงินทองมหาศาลของแอสเท็กส์ไป จนสิ้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
อือหือ~
ตอบลบสำหรับคนที่ชอบมังกรและเคยวาดมันมาหลายตัวขอบอกว่าข้อมูลดีเยี่ยม
ตอบลบแต่น่าจะให้เครดิตสักหน่อยน่ะ
โว้ว - -*
ตอบลบ